issuu
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-90 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบแทงออกมาจากเหง้าสูงได้ถึง 1 เมตร มี 6-10 ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 10-15 เซนติเมตร ยาว 30-45 เซนติเมตร ยอดเรียวแหลม (รูปที่ 1)
คุณประโยชน์ของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีการใช้ในตำรายาแผนโบราณมานาน ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือ เหง้า และมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ไว้มากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ [1], ฤทธิ์ต้านการอักเสบ [2-3], ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง [4] และฤทธิ์ต้านมะเร็ง [5] เป็นต้น จากข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ ทำให้ในปัจจุบันขมิ้นชันถูกจัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ [6] โดยจัดเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพรสำหรับรักษาอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีสรรพคุณเป็นยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และนอกจากนี้ขมิ้นชันยังเป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณอีกหลายตำรับ ได้แก่ ยาประสะกานพลู (บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ) ยาเหลืองปิดสมุทร (บรรเทาอาการท้องเสีย) ยาประคบ (ใช้ประคบเพื่อลดอาการปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ) เป็นต้น
ข้อบ่งใช้
บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ [7-8]
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้กับผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่แพ้ยานี้
ข้อควรระวัง
- ระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าขมิ้นชันมีผลกระตุ้นการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี [9-10]
- ระวังการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากขมิ้นชันมีผลกระตุ้นการหดตัวของมดลูกทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด [11-12]
- ระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย
- หากมียาที่ใช้อยู่ประจำควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ เนื่องจากอาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของยาเหล่านั้นได้
อาการไม่พึงประสงค์
อาการผิวหนังอักเสบจากการแพ้
สรุป
อย่างไรก็ตามขมิ้นชันก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการใช้ ซึ่งมีทั้งประโยชน์หลากหลายและมีโทษด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีข้อควรระวังในการใช้อีกด้วย ผู้ที่ประสงค์จะใช้ก็ควรศึกษาข้อบ่งใช้และข้อควรระวังในเบื้องต้นก่อน นอกจากนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยานั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
- Somparn P, Phisalaphong C, Nakornchai S, Unchern S, Morales NP. Comparative antioxidant activities of curcumin and its demethoxy and hydrogenated derivatives. Biological & Pharmaceutical Bulletin [Internet]. Pharmaceutical Society of Japan; 2007;30(1):74–8. Available from: http://dx.doi.org/10.1248/bpb.30.74
- Chainani-Wu N. Safety and anti-inflammatory activity of curcumin: a component of tumeric (Curcuma longa). The Journal of Alternative and Complementary Medicine [Internet]. Mary Ann Liebert Inc; 2003 Feb;9(1):161–8. Available from: http://dx.doi.org/10.1089/107555303321223035
- Wang X, Jiang Y, Wang Y-W, Huang M-T, Ho CT, Huang Q. Enhancing anti-inflammation activity of curcumin through O/W nanoemulsions. Food Chemistry [Internet]. Elsevier BV; 2008 May;108(2):419–24. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.foodchem.2007.10.086
- Goel A, Kunnumakkara AB, Aggarwal BB. Curcumin as “Curecumin”: From kitchen to clinic. Biochemical Pharmacology [Internet]. Elsevier BV; 2008 Feb;75(4):787–809. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.bcp.2007.08.016
- Yoysungnoen P, Wirachwong P, Changtam C, Suksamrarn A, Patumraj S. Anti-cancer and anti-angiogenic effects of curcumin and tetrahydrocurcumin on implanted hepatocellular carcinoma in nude mice. World Journal of Gastroenterology [Internet]. Baishideng Publishing Group Inc.; 2008;14(13):2003. Available from: http://dx.doi.org/10.3748/wjg.14.2003
- ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (2562, 17 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 95 ง. หน้า 8.
- Prucksunand C, Indrasukhsri B, Leethochawalit M, Hungspreugs K. Phase II clinical trial on effect of the long turmeric (Curcuma longa Linn) on healing of peptic ulcer. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2001; Mar;32(1):208-15. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11485087/
- Vejakama P, Piyathida Thongrong P, Larvongkerd C, Juntharaj T, Muanchart S, Singkum M, Boonsong A. Combination of Curcuma Longa and Omeprazole in
- Comparison to the Triple Therapy: A Controlled Clinical Trial. Srinagarind Med J 2008; 23(1):100-6. Available from: https://li0tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/13058/11725
- Platel K, Rao A, Saraswathi G, Srinivasan K. Digestive stimulant action of three Indian spice mixes in experimental rats. Nahrung. 2002;46(6):394‐398. Available from: http://doi.org/10.1002/1521-3803(20021101)46:6<394::AID-FOOD394>3.0.CO;2-D
- Johji Y, Keizo M, Takeshi C, Tokunosuke S, Hajime F, Toshiaki T, et al. Cholagogic effect of ginger and its active constituents. Journal of Ethnopharmacology [Internet]. Elsevier BV; 1985 May;13(2):217–25. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/0378-8741(85)90009-1
- Chen CC, Hsieh MS, Hsuuw YD, Huang FJ, Chan WH. Hazardous effects of curcumin on mouse embryonic development through a mitochondria-dependent apoptotic signaling pathway. International Journal of Molecular Sciences [Internet]. MDPI AG; 2010 Aug 2;11(8):2839–55. Available from: http://dx.doi.org/10.3390/ijms11082839
- Wu Y, Wang F, Reece EA, Yang P. Curcumin ameliorates high glucose-induced neural tube defects by suppressing cellular stress and apoptosis. American Journal of Obstetrics and Gynecology [Internet]. Elsevier BV; 2015 Jun;212(6):802.e1–802.e8. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.ajog.20101.01
ผู้เรียบเรียง ภญ.อ.ดร. อาภา เพชรสัมฤทธิ์
มีนาคม 2564