การใช้ยาในเดือนรอมฎอน

 อื่นๆ 

การใช้ยาในเดือนรอมฎอน

            เดือนที่ 9 ตามปฏิทินจันทรคติของฮิจเราะห์ศักราช จัดเป็นเดือนรอมฎอนของปฏิทินชาวอิสลามหรือชาวมุสลิม  เป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก ถือว่าการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นหนึ่งในห้าของหลักการปฏิบัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม  และเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานสำหรับชาวมุสลิม  ในช่วงเดือนดังกล่าวชาวมุสลิมที่มีสุขภาพดีต้องงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่เช้าจรดค่ำ โดยจะเริ่มงดน้ำและอาหารตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดิน  เวลาการอดอาหารอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 12 ถึง 17 ชั่วโมง  และบางช่วงอาจนานถึง 18–22 ชม.

            ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษาโรคเรื้อรังสำหรับควบคุมอาการของโรค  จึงควรเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดสรรเวลาในการรับประทานยาของตัวเองเพื่อไม่ให้กระทบกับโรคประจำตัวของตนเอง  ซึ่งโรคบางชนิดหากหยุดการรับประทานยาอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้  ดังเพื่อไม่ให้เกิดอาการหรือผลเสียหรือความเสี่ยงที่ไม่คาดหวัง  เราสามารถเลือกวิธีปฏิบัติเรื่องการใช้ยาในโรคต่างๆได้  ดังต่อไปนี้

 

เนื่องจากการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับมื้ออาหารที่รับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดเข้าไปในร่างกาย    โดยปกติแล้วอาการเริ่มแรกของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะค่อยๆ  แสดงให้เห็นตลอดชั่วโมงหรือตลอดวัน  อาการเหล่านั้นได้แก่ กระหายน้ำ  ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้  อาเจียน  ง่วงซึม  ผิวหนัง ปากแห้ง  เบื่ออาหาร  และลมหายใจมีกลิ่นอะซีโตน  ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้วไม่รับประทานยา อาจเสี่ยงต่อภาวะเสียชีวิตจากภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือดเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทีไม่ได้รับการควบคุม  และหากผู้ป่วยรับประทานยาโดยที่ไม่รับประทานอาหารหรือไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร  อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเส้นเลือดต่ำทำให้หมดสติ เหงื่อออก  ตัวเย็น  ผิวหนังซีดเย็น  อ่อนล้า  รู้สึกกระวนกระวาย  หรือสั่นวิตกกังวล  รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ  หรืออ่อนเพลีย  รู้สึกสับสน ไม่มีสมาธิ ง่วงซึม  อยากทานอาหารมากกว่าปกติ  มองเห็นภาพไม่ชัด  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  และหัวใจเต้นเร็ว  ซึ่งอาจเสียชีวิตได้เช่นกัน   ดังนั้นเราสามารถปฏิบัติตัวหรือใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยได้ดังต่อไป

 

  1. ยาก่อนอาหาร

ตัวยาอินซูลินเองอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเส้นเลือดต่ำได้  โดยมีลักษณะง่าย ๆ เหมือนอาการคนหิวข้าวที่มือไม้สั่น ใจหวิว ๆ จะเป็นลมนั่นเอง ซึ่งความเสี่ยงนี้มักพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่ไตเสื่อม หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย การเปลี่ยนกลุ่มยาชั่วคราว หรือลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่ง ในช่วงเดือนรอมฎอนอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ 

  1. ยาพร้อมมื้ออาหาร  
  1. ยาหลังมื้ออาหาร 

 

ข้อแนะนำเรื่องการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

            การถือศีลอดของชาวมุสลิมมีการปรับเปลี่ยนเวลาการรับประทานอาหาร  ดังนั้นจึงควรมีการปรับวิธีรับประทานยาดังนี้

ตัวอย่าง

ชนิดยารับประทานก่อนอาหาร เช่น Glibenclamide, Glipizide

การรับประทานยาปกติ -----> การรับประทานยาเดือนรอมฎอน
1 เม็ด เช้า  -----> 1 เม็ด เปิดปอซอ
2 เม็ด เช้า   -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ
1 เม็ด เช้า-เย็น -----> 1 เม็ด เปิดปอซอ ครึ่งเม็ด ซาฮูร
2 เม็ด เช้า-เย็น -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ 1 เม็ด ซาฮูร

ชนิดยารับประทานหลังอาหาร เช่น Metformin

การรับประทานยาปกติ       -----> การรับประทานยาเดือนรอมฎอน
1 เม็ด เช้า 1 เม็ด เปิดปอซอ  -----> 1 เม็ด เช้า-เย็น 1 เม็ด เปิดปอซอ 1 เม็ด ซาฮูร
1 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น  -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ 1 เม็ด ซาฮูร
2 เม็ด เช้า-เย็น  -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ 2 เม็ด ซาฮูร
2 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น  -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ 2 เม็ดก่อนนอน 2 เม็ด ซาฮูร

ชนิดยาฉีดก่อนหรือหลังมื้ออาหาร

การรับประทานยาปกติ      -----> การรับประทานยาเดือนรอมฎอน
ยาฉีด 40 ยูนิตเช้า 12 ยูนิตเย็น  ----->   ฉีด 40 ยูนิตเปิดปอซอ 6 ยูนิตซาฮูร

 

ชนิดยา Pioglitazone(Utmos®,Actos®) Glimepiride(Amaryl®)

ซึ่งปกติรับประทานตอนเช้าให้กินเท่าเดิมโดยให้รับประทานก่อนหรือหลังเปิดปอซอก็ได้

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายเกิดความบกพร่องในการหลั่งสารอินซูลินในการจัดการกับน้ำตาลในเส้นเลือด  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาต่อเนื่องอย่างเหมาะสม 

อย่างไรก็ตามให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเรื่องการปรับเปลี่ยนขนาดยาอย่างเคร่งครัดโดยไม่ควรปรับขนาดยาด้วยตนเอง

 

เนื่องจากยาควบคุมหรือรักษาอาการโรคเรื้อรังอื่น ๆ  เช่น  โรคหัวใจ  โรคหอบหืด โรคไต  โรคความดันโลหิต  โรคเก๊าฑ์  โรคสมองเสื่อม  โรคไทรอยด์  โรคภูมิแพ้ และอื่นๆเป็นต้น  โรคเหล่านี้ยาที่ใช้รักษาหรือควบคุมโรคไม่มีความสัมพันธ์กับมื้ออาหารมากนัก  จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเวลารับประทานยาผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้ตามเดิมแม้ว่าไม่ได้รับประทานอาหาร  หากเคร่งครัดมากในการถือศีลอด  ก็แนะนำให้เปลี่ยนเวลาการรับประทานมาเป็นตอนกลางคืนเวลาใดเวลาหนึ่ง

ตัวอย่าง

การรับประทานยาปกติ การรับประทานยาเดือนรอมฎอน
1 เม็ด เช้า -----> 1 เม็ด เปิดปอซอ
2 เม็ด เช้า -----> 2 เม็ด เปิดปอซอ
1 เม็ด เช้า-เย็น -----> 1 เม็ด เปิดปอซอ 1เม็ด ซาฮูร
2 เม็ด เช้า-เย็น ----->  2 เม็ด เปิดปอซอ 2 เม็ด ซาฮูร

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

            การรับประทานยาให้ครบตามแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้ภาวะของโรคสงบและลดโอกาสการกำเริบหรือแสดงอาการเลวร้ายของโรคได้  

 

หากมีการเจ็บป่วยอื่นๆที่ไม่ใช้โรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะ  ปวดกล้ามเนื้อ  โรคระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม โรคไข้หวัด  โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคท้องเสีย และอื่นๆเป็นต้น  ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้ตามปกติเพียงแต่เปลี่ยนเวลาการรับประทานยาจากกลางวันมาเป็นกลางคืนแทน    หากยาชนิดใดให้รับประทานยาก่อนมื้ออาหารก็ควรรับประทานก่อนมื้ออาหาร  เนื่องจากยาบางชนิดให้รับทานก่อนเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับมื้ออาหารที่จะทานตามมา  เช่น ยารักษาโรคกระเพาะบางชนิดให้รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที เนื่องจากยาจะไปออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดก่อนอาหารจะมาถึงกระเพาะเพื่อไม่ให้มีการหลั่งกรดมาย่อยอาหารเยอะเกินไป  หรือยาบางชนิดออกฤทธิ์ได้ดีหากกระเพาะอาหารไม่มีอาหารอยู่  หรือดูดซึมหรือออกฤทธิ์ได้ดีตอนกระเพาะอาหารว่างนั่นเอง  หากยาชนิดใดกำหนดว่าให้รับประทานหลังอาหารทันทีก็ควรรับประทานหลังอาหารทันที  เนื่องจากยาบางชนิด  เช่น ยาแก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ปวดหัว  แก้ปวดไมเกรน แก้ปวดข้อ แก้ปวดเก๊าฑ์ เป็นต้น  อาจมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร  ซึ่งทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้   ผู้ป่วยจึงควรรับประทานหลังอาหารตามมื้อที่ปฏิบัติได้

อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง  เพื่อความปลอดภัยเรื่องการใช้ยาสูงสุดกับตัวผู้ป่วยเอง

 

ผู้เรียบเรียง

ภก.กุญชร    เหรียญทอง

24 กรกฎาคม 2562

 

 

อ้างอิง

  1. Mohamed K, Al-Abdulrazzaq D, Fayed A, El Busairi E, Al Shawaf F, et al. Fasting during the holy month of Ramadan among older children and adolescents with type 1 diabetes in Kuwait.  J Pediatr Endocrinol Metab. 2019 Jul 18.
  2. Duzçeker Y, Akgul S, Durmaz Y, Yaman M, Ors S, et al. Is Ramadan fasting correlated with disordered eating behaviours in adolescents.  Eat Disord. 2019 Jul 13:1-14.
  3. เอกสารกำกับยาบริษัท Sanofi-aventis (Thailand) Ltd.
  4. Abazid RM, Khalaf HH, Sakr HI, Altorbak NA, Alenzi HS,  et al.  Effects of Ramadan fasting on the symptoms of chronic heart failure.  Saudi Med J. 2018 Apr;39(4):395-400.
  5. กรมสุขภาพจิต :https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27941.
  6. แผนกเภสัชกรรม โรงพยาบาลสิโรรส ยะลา.  1 พฤษภาคม 2561.
  7. Chehovich C, Demler TL, Leppien E.  Impact of Ramadan fasting on medical and psychiatric health.  Int Clin Psychopharmacol. 2019 Jul 3.
  8. Hassanein M, Belhadj M, Abdallah K, Bhattacharya AD, Singh AK.  et al.  Management of Type 2 diabetes in Ramadan: Low-ratio premix insulin working group practical advice. Indian J Endocrinol Metab. 2014 Nov;18(6):794-9.
  9. Abdessadek M, Khabbal Y, Magoul R, Marmouzi I, Ajdi F. Follow-up of glycemic index before and after Ramadan fasting in type 2 diabetes patients under antidiabetic medications. Ann Pharm Fr. 2019 Jun 26.
  10. Kamel WA, Al Hashel JY, Damier P.  How do Parkinson's disease patients manage Ramadan fasting? An observational study.  Rev Neurol (Paris). 2019 Jun 5.