issuu
กัญชาในยุคที่การแพทย์ไร้พรมแดน
การเปลี่ยนแปลงของอะไรหลายๆอย่างในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี มันเร็วกว่าที่เราหลายๆคนจะรับข่าวสารได้ทัน สิ่งที่เราเคยคิดว่าไม่มีประโยชน์กลับมีประโยชน์ขึ้นมาได้ แน่นอนครับว่าหากกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์และเภสัชกรรมในช่วงที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นเรื่องของการนำเอา “กัญชา” ซึ่งการครอบครองหรือนำส่วนใดส่วนหนึ่งจากพืชหรือชิ้นส่วนของพืชชนิดนี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเดิมถือเป็น ความผิดตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 อย่างไรก็ตามครับในเมื่อยุคสมัยมันเปลี่ยนไป ความก้าวหน้าทางการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วมันเหมือนกับการยิงจรวดข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ ทำให้ข้อมูลสนับสนุน ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในเรื่องของประโยชน์ต่อการนำไปรักษาโรคต่างๆ เกิดเป็นประเด็นให้นักวิชาการ นักวิจัย แพทย์ เภสัชกร รวมทั้งบุคลากรอื่นๆทางสาธารณสุขได้มองเจ้าพืชชนิดนี้ในมุมมองใหม่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติแนวคิดที่ถูกสืบทอดกันมาหลายสิบปีเลยทีเดียวก็ว่าได้
อันที่จริงกัญชาถือเป็นพืชสมุนไพรที่ตามหลักของการแพทย์แผนไทยมีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยาไทยต่างๆ ถึง 14 ตำรับด้วยกัน โดยมีการระบุในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์และตำราพระโอสถพระนารายณ์ในเรื่องของการนำเอากัญชาไปใช้ในตำรับยาเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นต้น ซึ่งองค์ความรู้นี้ถือว่ามีอายุถึง 300 กว่าปีจวบจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นหากเทียบกันจริงๆแล้วก็ถือว่าองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทยด้านการใช้สมุนไพรเราไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติตะวันตกเลยทีเดียว แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีความระมัดระวังอย่างสูง อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความรู้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาอย่างถูกต้อง เพราะกัญชามีหลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์ก็ให้สารสำคัญ หรือ Active Ingredients ที่ออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน
โดยทั่วไปกัญชามีหลากหลายสายพันธุ์เป็นหมื่นสายพันธุ์ทั้งตามธรรมชาติและจากการใช้เทคโนโลยีในการผสมผสานสายพันธุ์แต่กลุ่มของสายพันธุ์หลักๆที่มักถูกกล่าวถึงคือ Cannabis indica, Cannabis ruderalis และ Cannabis sativa หรือกัญชาไทยที่เรารู้จักกัน ซึ่งทั้ง 3กลุ่มสายพันธุ์นี้แม้จะขึ้นชื่อว่ากัญชาเหมือนกันแต่มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันรวมไปถึงสารสำคัญด้วย ทั้งนี้สารสำคัญในกัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์ สามารถแบ่ง ได้เป็น
จะเห็นได้ว่าสารแต่ละกลุ่มออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน โดย มาจากผลที่เกิดจากการไปจับกับตัวรับหรือ receptor ในร่างกายที่แตกต่างกันนั่นเอง ดังนั้นการนำสารสกัดจากพืชกัญชาไปใช้เพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการป่วยต่างๆ ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของของบุคลากรทางสาธารณสุข เช่น แพทย์ แพทย์แผนไทย เภสัชกร หรือ ผู้ที่ได้รับอนุญาตซึ่งมีความรู้ความชำนาญ และความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนเตามที่ระบุใน พรบ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 เท่านั้นครับ เพราะสุดท้ายแล้วนอกจากกัญชาจะยังถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายหากครอบครองหรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และยังอาจเกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและคนรอบข้างหากนำไปใช้โดยมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ