issuu
Microscopic Urinalysis
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
Urinalysis เป็นการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ ซึ่งจะมีการตรวจ 3 ด้าน ได้แก่
- การตรวจทางกายภาพ (Physical examination) เช่น สี กลิ่น เป็นต้น
- การตรวจทางเคมี (Chemical examination) เช่น pH protein glucose เป็นต้น
- การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) หรือ Microscopic Urinalysis เป็นการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะวิธีหนึ่งด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยทั่วไปจะใช้เมื่อพบความผิดปกติของปัสสาวะ ที่ผ่านการตรวจทางกายภาพหรือทางเคมีแล้ว โดยการนำตะกอนปัสสาวะไปปั่นแล้วนำตะกอนมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์
สำหรับการตรวจ Microscopic Urinalysis จะเป็นนำตะกอนมาส่องดู ประกอบด้วย การตรวจ
- เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells : RBCs)
- เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells : WBCs)
- ผลึก crystal (crystals)
- แท่งโปรตีนที่ตกกตะกอน (casts)
- เซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (epithelial cells/squamous cells)
- แบคทีเรีย ยีสต์ และปรสิต (bacteria/yeast/parasite)
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจ Microscopic Urinalysis ใช้สำหรับ
- บ่งชี้ถึงภาวะที่ผิดปกติหรือโรคที่สงสัย เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะชนิดฉับพลันหรือเรื้อรัง เป็นต้น
- บ่งชี้ถึงผลการรักษาของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน นิ่วที่ไต ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต เป็นต้น
- เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการตรวจทางกายภาพ (Physical examination) ของการวิเคราะห์ปัสสาวะ
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา (เช่น vitamin B rifampin phenytoin ยาขับปัสสาวะ erythromycin trimethoprim เป็นต้น) สมุนไพร หรือวิตามินใดๆ (เช่น วิตามินซีปริมาณสูงที่ทานร่วมกับยาปฏิชีวนะ เป็นต้น) อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านกำลังมีรอบเดือนหรือใกล้มีรอบเดือน
· ได้รับการวินิจฉัยด้วยรังสีเอกซ์และสารทึบสี ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา
แปลผลอย่างไร
- ค่าปกติโดยทั่วไป มีดังนี้
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ |
|
1 |
เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells : RBCs) |
ไม่มี |
|
2 |
เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells : WBCs) |
ไม่มี |
|
3 |
ผลึก crystal (crystals) |
มีน้อยมาก |
|
4 |
แท่งโปรตีนที่ตกกตะกอน (casts) |
ไม่มี |
|
5 |
เซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (epithelial cells/squamous cells) |
ไม่มีหรือมีน้อยมาก |
|
6 |
แบคทีเรีย (bacteria) |
ไม่มี |
|
7 |
ยีสต์ (yeast) |
ไม่มี |
|
8 |
ปรสิต (parasite) |
ไม่มี |
|
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ Microscopic Urinalysis ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
- ค่าที่ผิดปกติ อาจเกิดได้จาก
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่ากว่าปกติ |
1 |
เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells : RBCs) |
|
2 |
เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells : WBCs) |
|
3 |
ผลึก crystal (crystals) |
|
4 |
แท่งโปรตีนที่ตกกตะกอน (casts) |
|
5 |
เซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (epithelial cells/squamous cells) |
(แพทย์อาจจะให้ตรวจซ้ำ) |
6 |
แบคทีเรีย (bacteria) |
|
7 |
ยีสต์ (yeast) |
|
8 |
ปรสิต (parasite) |
|
ข้อควรทราบ
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีผลต่อสีปัสสาวะ เช่น แบล็คเบอรี่ หัวผักกาด เป็นต้น
- ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก ก่อนทำการตรวจ Microscopic Urinalysis
- การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ควรเก็บที่ช่วงกลางของปัสสาวะ
เอกสารอ้างอิง
- Urinalysis: Three Types of Examinations. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: May 26, 2016. [cited in 22 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/urinalysis/ui-exams
- Urine Test. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: August 21, 2015. [cited in 22 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/a-to-z-guides/urine-test#1
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560