issuu
High-density Lipoprotein Cholesterol
ชื่ออื่นๆ HDL, HDL-C
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
HDL (High-Density Lipoprotein) เป็นไขมันตัวดีหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) จากส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ได้ใช้ไปกำจัดที่ตับ โดยปกติในเลือดจะมี HDL ในระดับปกติอยู่แล้ว แต่หากร่างกายมี HDL ปริมาณต่ำ จะทำให้การนำไขมันคลอเลสเตอรอลในร่างกายโดยเฉพาะที่เกาะผนังหลอดเลือดยังคงอยู่จนในที่สุดอุดตันหลอดเลือด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง โรคหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิตจากอาการเจ็บหน้าอกหรือหลอดเลือดสมองตีบ/แตก (stroke)
การตรวจระดับไขมันดีในเลือด (HDL) เป็นการตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของแต่ละบุคคลและช่วยตัดสินใจในการรักษา
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจ HDL ใช้สำหรับ
- คัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย
- การสูบบุหรี่
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- รับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- ขาดการออกกำลังกาย
- อายุ (เพศชาย อายุ > 45 ปี, เพศหญิง อายุ > 55 ปี)
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาลดความดันโลหิต
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ (เพศชาย อายุ < 55 ปี, เพศหญิง อายุ < 65 ปี)
- เคยมี/มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือมีอาการเจ็บหน้าอก
- เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
ทั้งนี้หากแบ่งตามกลุ่มอายุ แนะนำให้มีการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แบ่งตามกลุ่มผู้ป่วย ดังนี้
- เด็ก/วัยรุ่น (ประเมินความเสี่ยงโดยใช้เกณฑ์เหมือนผู้ใหญ่)
- เด็กที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจที่อายุ 9, 11, 17 และ 21 ปี
- เด็กที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้ตรวจในช่วงอายุระหว่าง 2 ถึง 8 ปี (หากผลทางห้องปฏิบัติการ ผิดปกติ ควรตรวจซ้ำภายใน 3-5 ปี)
- หากมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 95 เปอร์เซ็นไทล์ แนะนำให้ตรวจทุก 2 ปี
- ผู้ใหญ่
- ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 4-6 ปี
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจมากกว่า 1 ครั้งต่อปี
- ติดตามการรักษาโรคไขมันเลือดสูง ทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (เช่น อาหารและการออกกำลังกาย เป็นต้น) หรือประสิทธิผลในการรักษาด้วยยา (เช่น statins เป็นต้น)
- ค้นหาโรคไขมันในเลือดสูงที่มีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรม
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา สมุนไพร หรือวิตามินใดๆ อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านได้รับการตรวจไทรอยด์หรือกระดูกด้วยสารที่มีรังสี ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านมีภาวะไทรอยด์ในเลือดต่ำ/สูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ (เช่น ตับแข็ง หรือตับอักเสบ) หรือขาดสารอาหาร เป็นต้น
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านมีการติดเชื้อ เจ็บป่วยเฉียบพลัน ได้รับการผ่าตัดหรือเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· ตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์
แปลผลอย่างไร
- ค่าปกติโดยทั่วไป มีดังนี้
1. เด็ก/วัยรุ่น (อายุไม่เกิน 19 ปี) และ ผู้ใหญ่ (อายุ 19-40 ปี)
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ เด็ก/วัยรุ่น (อายุไม่เกิน 19 ปี) และ ผู้ใหญ่ (อายุ 19-40 ปี) |
|
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
HDL |
|
|
1 |
ปกติ |
< 45 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.17 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
เริ่มสูง |
40-45 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.04-1.17 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ความเสี่ยงสูง |
< 40 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.04 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2. ผู้ใหญ่
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ ชาย |
ค่าปกติ หญิง |
||
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
HDL |
|
|
|
|
1 |
ปกติ |
< 60 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.55 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
< 60 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.55 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
เริ่มสูง |
40-50 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.00-1.30 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
50-59 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.30-1.50 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ความเสี่ยงสูง |
< 40 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.00 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
< 50 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.30 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
* หน่วย mg/dl เป็นหน่วยแบบ Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** หน่วย mmol/L เป็นหน่วยแบบ SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ HDL ร่วมกับการตรวจไขมันตัวอื่นๆ ควรงดอาหารก่อนตรวจ 9-12 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ)
4. แนวทางการในการรักษา เพื่อให้ค่า HDL ถึงเป้าหมาย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเพิ่มการออกกำลังกายและลดปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น
- ค่าที่ผิดปกติ (สูงหรือต่ำ) อาจเกิดได้จาก
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าต่ำกว่าปกติ |
ค่าสูงกว่าปกติ |
HDL |
|
|
ข้อควรทราบ
- หากท่านมีการติดเชื้อ เจ็บป่วยเฉียบพลัน ได้รับการผ่าตัดหรือเกิดอุบัติเหตุ อาจจะพิจารณารออย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อตรวจอีกครั้ง
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจจะมีค่าคลอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ อาจจะพิจารณารออย่างน้อย หลังคลอด 6 สัปดาห์ เพื่อตรวจอีกครั้ง
- แนวทางการรักษาโรคไขมันในเลือดสูง เน้นการลดไขมันชนิดร้าย (LDL) ก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ แล้วจึงพิจารณาค่าผลไขมันชนิดอื่นๆตามมา
เอกสารอ้างอิง
- HDL Cholesterol. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: July 18, 2016. [cited in 22 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/hdl/tab/test
- Cholesterol and Triglycerides Tests. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: May 26, 2015. [cited in 22 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/cholesterol-management/cholesterol-and-triglycerides-tests
3. HDL. Suphannika Prateepjarassaeng. Last modified: January 25, 2012. [cited in 22 January 2017]. Available from http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=540
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560