issuu
Triglyceride
ชื่ออื่นๆ TG; TRIG
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
Triglycerides เป็นสารตัวหนึ่ง ใช้สำหรับเก็บพลังงานและให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อ พบปริมาณน้อยในเลือด โดยระดับ Triglycerides ที่สูงจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง โรคหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิตจากอาการเจ็บหน้าอกหรือหลอดเลือดสมองตีบ/แตก (stroke)
การตรวจค่า Triglycerides เป็นการตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของแต่ละบุคคลและช่วยตัดสินใจในการรักษา
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจ Triglycerides ใช้สำหรับ
- คัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย
- การสูบบุหรี่
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- รับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- ขาดการออกกำลังกาย
- อายุ (เพศชาย อายุ > 45 ปี, เพศหญิง อายุ > 55 ปี)
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาลดความดันโลหิต
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ (เพศชาย อายุ < 55 ปี, เพศหญิง อายุ < 65 ปี)
- เคยมี/มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือมีอาการเจ็บหน้าอก
- เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
ทั้งนี้หากแบ่งตามกลุ่มอายุ แนะนำให้มีการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แบ่งตามกลุ่มผู้ป่วย ดังนี้
- เด็ก/วัยรุ่น (ประเมินความเสี่ยงโดยใช้เกณฑ์เหมือนผู้ใหญ่)
- เด็กที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจที่อายุ 9, 11, 17 และ 21 ปี
- เด็กที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้ตรวจในช่วงอายุระหว่าง 2 ถึง 8 ปี (หากผลทางห้องปฏิบัติการ ผิดปกติ ควรตรวจซ้ำภายใน 3-5 ปี)
- หากมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 95 เปอร์เซ็นไทล์ แนะนำให้ตรวจทุก 2 ปี
- ผู้ใหญ่
- ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 4-6 ปี
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้ตรวจมากกว่า 1 ครั้งต่อปี
- ติดตามการรักษาโรคไขมันเลือดสูง ทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (เช่น อาหารและการออกกำลังกาย เป็นต้น) หรือประสิทธิผลในการรักษาด้วยยา (เช่น statins เป็นต้น)
- ค้นหาโรคไขมันในเลือดสูงที่มีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรม
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา (เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านเชื้อไวรัส ยาลดความดันโลหิต ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น) สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านได้รับการตรวจไทรอยด์หรือกระดูกด้วยสารที่มีรังสี ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านมีภาวะไทรอยด์ในเลือดต่ำ/สูง เบาหวาน โรคไต โรคตับ (เช่น ตับแข็ง หรือตับอักเสบ) หรือขาดสารอาหาร เป็นต้น
· กรุณาแจ้งแพทย์ หากท่านมีการติดเชื้อ เจ็บป่วยเฉียบพลัน ได้รับการผ่าตัดหรือเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· ตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์
แปลผลอย่างไร
- ค่าปกติโดยทั่วไป แบ่งตามช่วงอายุ มีดังนี้
1. ทารกและเด็ก (แรกเกิด – 9 ปี), วัยรุ่น (10– 19 ปี): แบ่งตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ (แรกเกิด – 9 ปี) |
ค่าปกติ (10– 19 ปี) |
||
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
Triglyceride |
|
|
|
|
1 |
ปกติ |
< 75 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 0.85mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
< 90 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.02 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
เริ่มสูง |
75-99 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
0.85-1.12 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
90-129 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.02-1.46 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ความเสี่ยงสูง |
> 100 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
> 1.13 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
> 130 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
> 1.47 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2. ผู้ใหญ่ แบ่งตามอายุได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ก. อายุมากกว่า 19-40 ปี : แบ่งตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ (อายุมากกว่า 19-40 ปี) |
|
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
Triglyceride |
|
|
1 |
ปกติ 4 |
< 115 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.30 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
เริ่มสูง |
115-149 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.30-1.68 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ความเสี่ยงสูง5 |
> 150 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
> 1.70 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
ข. อายุมากกว่า 40 ปี : แบ่งตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ (อายุมากกว่า 40 ปี) |
|
หน่วย mg/dl* (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/l** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
Triglyceride |
|
|
1 |
ปกติ 4 |
< 150 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
< 1.70 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
เริ่มสูง |
150-199 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
1.70-2.20 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ความเสี่ยงสูง5 |
240-499 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
2.3-5.6 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
4 |
ความเสี่ยงสูงมาก6 |
> 500 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
> 5.6 mmol/l (มิลลิโมลต่อลิตร) |
* หน่วย mg/dl เป็นหน่วยแบบ Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** หน่วย mmol/L เป็นหน่วยแบบ SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ Triglyceride ควรงดอาหารก่อนตรวจ 9-12 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ)
4. มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อย
5. เริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แพทย์อาจตรวจค่าไขมันตัวอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น LDL, HDL เป็นต้น เพื่อหาสาเหตุและเลือกการรักษาที่เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน (5 ครั้งต่อสัปดาห์), ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารทุกชนิดที่มากเกินต่อวัน
พร้อมตรวจติดตามระดับไตรกลีเซอไรด์ ตามแพทย์สั่งเพื่อประเมินแนวทางการรักษาต่อไป เป็นต้น
6. มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมาก แพทย์อาจตรวจค่าไขมันตัวอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น LDL, HDL เป็นต้น เพื่อหาสาเหตุและเลือกการรักษาที่เหมาะสม เช่น การเริ่มให้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้ (acute pancreatitis)
- ค่าที่ผิดปกติ (สูงหรือต่ำ) อาจเกิดได้จาก
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าต่ำกว่าปกติ |
ค่าสูงกว่าปกติ |
Triglyceride |
ไม่มีข้อมูล |
|
ข้อควรทราบ
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนทำการตรวจเลือด
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือออกกำลังกายอย่างหนักก่อนทำการตรวจเลือด
- Triglyceride เป็นค่าไขมันในเลือดตัวหนึ่งที่แปรผันตามมื้ออาหาร โดยเมื่อรับประทานอาหาร Triglyceride จะเพิ่มสูงขึ้น 5-10 เท่าของขณะที่ไม่ได้รับประทานอาหาร ดังนั้นจึงไม่ใช้ค่า Triglycerides หลังจากรับประทานอาหาร เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- หากท่านมีการติดเชื้อ เจ็บป่วยเฉียบพลัน ได้รับการผ่าตัดหรือเกิดอุบัติเหตุ อาจจะพิจารณารออย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อตรวจอีกครั้ง
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจจะมีค่าคลอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ อาจจะพิจารณารออย่างน้อย หลังคลอด 6 สัปดาห์ เพื่อตรวจอีกครั้ง
เอกสารอ้างอิง
- Triglycerides. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: July 1, 2016. [cited in 22 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/triglycerides/tab/test
- Cholesterol and Triglycerides Tests. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: May 26, 2015. [cited in 22 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/cholesterol-management/cholesterol-and-triglycerides-tests
3. TG; TRIG (Triglycerides). Suphannika Prateepjarassaeng. Last modified: January 29, 2012. [cited in 22 January 2017]. Available from http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=542
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560