issuu
Blood Sugar
ชื่ออื่นๆ : Blood Glucose, Blood Sugar, Fasting Blood Sugar (FBS), Fasting Blood Glucose (FBG), Fasting Plasma Glucose (FPG), Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
ระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar) คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แบ่งได้เป็น
1. Fasting glucose (fasting blood glucose, FBG) เป็นการรวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2. 2-hour postprandial test เป็นการวัดน้ำตาลหลังจากรับประทานอาหาร เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
3. 2-hour oral glucose tolerance test (OGTT) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากดื่มกลูโคสขนาด 75 กรัม เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้สำหรับ
- คัดกรองและวินิจฉัย
- ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ก่อนที่อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวานจะปรากฎ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ได้มีการแนะนำให้ตรวจคัดกรองกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี หรือมีปัจจัยเสี่ยง เช่น
- ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- เชื้อชาติที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เช่น แอฟริกา อเมริกา เป็นต้น
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือได้รับยาลดความดันโลหิต
- มีความผิดปกติของไขมัน (HDL น้อยกว่า 35 mg/dl หรือ 0.90 mmol/L และ/หรือ Triglyceride สูงกว่า 250 mg/dl หรือ 2.82 mmol/L)
- ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome)
- หญิงที่คลอดบุตรซึ่งมีน้ำหนัก 9 ปอนด์ (4 กิโลกรัม) หรือมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- HbA1c มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7%
- เป็นผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน
- มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- หมายเหตุ : ความถี่ในการตรวจ FBS ได้มีการแนะนำ ดังนี้
- ผู้ที่มี FBS ปกติ ควรตรวจทุก 1-3 ปี
- ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน ควรตรวจทุกปี
- ดักจับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
- วินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานและภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes)
- คัดกรองและวินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes) มีการแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ตรวจคัดกรองที่สัปดาห์ที่ 24 และ 28 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบด้วยการตรวจ 2 แบบ ได้แก่
ก. การตรวจแบบ 1 ขั้นตอน (one step screening)
เป็นการวัด 2-hour oral glucose tolerance test (OGTT) โดยให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มกลูโคส ปริมาณ 75 กรัม และวัดระดับน้ำตาลที่ชั่วโมง 1 และ 2 หลังดื่มกลูโคส
ข. การตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (Two-step screening)
ขั้นตอนที่ 1 : การตรวจคัดกรองโดยให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มกลูโคสปริมาณ 50 กรัม และวัดระดับน้ำตาลที่ชั่วโมง 1 หลังดื่มกลูโคส หากมีความผิดปกติให้ตรวจคัดกรองต่อในขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 : การตรวจคัดกรองเพิ่มเติมจากขั้นตอนที่ 1 โดยการตรวจในขั้นตอนที่ 2 นี้จะให้หญิงตั้งครรภ์อดอาหารมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จากนั้นจึงตรวจวัดค่า FBS หลังจากนั้นจะให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มกลูโคสปริมาณ 100 กรัม แล้วจึงเจาะเลือดซ้ำที่ชั่วโมง 1, 2 และ 3 หลังดื่มกลูโคส ทั้งนี้หากมีค่าผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป จะถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ติดตามการรักษา
ระดับน้ำตาลในเลือดใช้สำหรับติดตามภาวะน้ำตาลในเลือดได้และช่วยกำหนดความจำเป็นในการใช้ยาลดน้ำตาลชนิดรับประทานหรือยาฉีดอินซูลิน รวมทั้งติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน โดยสามารถใช้การตรวจวัดด้วยการเจาะปลายนิ้ว
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านซึมเศร้า (tricyclic antidepressants) ยาขับปัสสาวะ epinephrine ยาคุมกำเนิด lithium phenytoin aspirin paracetamol เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· แจ้งแพทย์ หากมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือด (aspirin) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin)
· ตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์
แปลผลอย่างไร
· ค่าปกติในผู้ใหญ่โดยทั่วไป มีดังนี้
· โดยค่าปกติในเด็กจะมีค่าแตกต่างกันแต่ละช่วงอายุ หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าโดยทั่วไป (ผู้ใหญ่) การแปลผลขึ้นกับหน่วยวัดดังนี้ |
|
หน่วย mg/dl * (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/L** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
|
FBS |
|
|
1 |
ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน |
70-99 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
3.9-5.5 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นโรคเบาหวาน |
100-125 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
5.6-6.9 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน |
> 126 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
> 7 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
2-hour postprandial test |
|
|
|
ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน |
< 140 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
7.8 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
OGTT |
|
|
1 |
ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน |
< 140 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
7.8 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นโรคเบาหวาน |
140-199 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
7.8-11.1mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน |
>= 200 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
>= 11.1mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
ขั้นตอน |
จำนวนชั่วโมงที่ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (หลังจากดื่มกลูโคส) |
ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (OGTT) สำหรับวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (การแปลผลขึ้นกับหน่วยวัดดังนี้) |
|
หน่วย mg/dl * (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
หน่วย mmol/L** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
1 ขั้นตอน (one-step) |
0 |
92 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
5.1 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
1 |
180 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
10.0 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
2 |
153 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
8.5 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
2 ขั้นตอน (two-step) |
ขั้นตอนที่ 1 |
||
0 |
>= 140 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
>= 7.8 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
ขั้นตอนที่ 2 |
|||
0 |
95 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
5.3 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
1 |
180 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
10.0 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
2 |
155 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
8.6 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
|
3 |
140 mg/dl (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) |
7.8 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
* หน่วย mg/dl เป็นหน่วยแบบ Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** หน่วย mmol/L เป็นหน่วยแบบ SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ FBS ต้องงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติและน้ำ
- ค่าผิดดปกติ (สูงหรือต่ำ) อาจเกิดได้จาก
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าต่ำกว่าปกติ |
ค่าสูงกว่าปกติ |
Blood sugar |
|
|
ข้อควรทราบ
1. การวินิจฉัยอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ประกอบด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ ได้แก่
ก. ผลทางห้องปฏิบัติการ ระดับน้ำตาลในเลือด < 40 mg/dL(มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) หรือ 2.2 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร)
ข. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น
- เหงื่อออก ใจสั่น หิว สั่น กังวล ซึ่งเป็นอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง
- สับสน เห็นภาพหลอน มองเบลอ ซึ่งเป็นอาการทางสมอง
ค. อาการดีขึ้น เมื่อมีระดับในน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นจนกลับสู่สภาะปกติ
2. ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งทั้งสองอาการนั้นหากรุนแรง ผู้ป่วย
จะไม่สามารถรู้ตัวเองได้หรือหมดสติ ดังนั้น นอกจากผู้ป่วยต้องทราบแล้ว ผู้ดูแลเป็นส่วนที่สำคัญที่ต้องทราบด้วยเช่นกัน เพื่อทำการดูแลจัดการได้ทันท่วงที
เอกสารอ้างอิง
- Glucose tests. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 16, 2017. [cited in 20 January 2017]. Available from
https://labtestsonline.org/understanding/analytes/glucose/tab/test/
- . Blood Glucose. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: May 2, 2015. [cited in 0 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/diabetes/guide/blood-glucose
- . What Is Gestational Diabetes?. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: April , 2015. [cited in 20 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/diabetes
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560