issuu
Hemoglobin A1C
ชื่ออื่นๆ : A1c, HbA1c, Glycohemoglobin, Glycated Hemoglobin, Glycosylated Hemoglobin
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C) เป็นการตรวจเพื่อหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดย HbA1c จะวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่เกาะอยู่บนฮีโมโกลบินจนถึงอายุของเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ระดับของ HbA1c จะมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose : FBS) รวมทั้งยังนำไปคำนวณค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด (estimated average glucose - eAG) ซึ่งค่า eAG จะมีความแตกต่างกับการใช้ FBS กล่าวคือ ค่า FBS เป็นการวัดระดับน้ำตาลขณะที่อดอาหารก่อนวันที่เจาะเลือด ซึ่งในแต่ละวันระดับน้ำตาลในเลือดอาจมีความผันแปรตามปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ดังนั้นค่า FBS จึงไม่ได้สะท้อนถึงระดับน้ำตาลในเลือดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนเจาะเลือด ขณะที่ค่า eAG เป็นค่าที่คำนวณได้จากการใช้สูตร ซึ่งมีค่า HbA1c เป็นตัวแปรหนึ่งที่ไม่มีความผันแปรตามปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารหรือเครื่องดื่ม ดังนั้นค่า eAG จึงเป็นค่าหนึ่งที่สะท้อนถึงระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยก่อนเจาะเลือด
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C) ใช้สำหรับ
- คัดกรองและวินิจฉัย
HbA1c เป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับให้ใช้สำหรับคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานหรือภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) โดยใช้ร่วมกับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose : FBS) หรือ การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) ในผู้ป่วยทั่วไป ทั้งนี้ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กหรือวัยรุ่น ผู้ที่ได้รับเลือดหรือมีภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด อาจใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นแทน HbA1c
นอกจากนี้ HbA1c อาจใช้ตรวจกับผู้ที่มีน้ำหนักเกินร่วมกับมีความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
- ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- เชื้อชาติที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เช่น แอฟริกา อเมริกา เป็นต้น
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มีความผิดปกติของไขมัน (HDL น้อย และ/หรือ Triglyceride สูง)
- ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome)
- มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- มีภาวะอื่นๆที่เกี่ยวกับการดื้อต่ออินซูลิน
สำหรับความถี่ในการตรวจ HbA1c ได้มีการแนะนำ ดังนี้
-
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปและน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน ควรตรวจอย่างน้อย 3 ปีต่อครั้ง หรือหากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถตรวจได้บ่อยกว่าที่แนะนำ
- ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน ควรตรวจ HbA1c ทุกปี
- ติดตามการรักษา
HbA1c ใช้สำหรับติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยหากสามารถควบคุม HbA1c ให้ใกล้เคียงกับค่าปกติได้ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ที่มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลที่สูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ไตเสื่อม ตาเสื่อม ระบบหัวใจและหลอดลมและระบบปลายประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปจะทำการตรวจ HbA1c อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับวิตามินใดๆ (วิตามินซีและอี) อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านมีระดับคลอเลสเตอรอลสูง เป็นโรคตับ โรคไตหรือมีโรคที่ส่งผลต่อฮีโมโกลบิน (hemoglobin) เช่น ภาวะซีด (anemia) ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง เม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) เป็นต้น การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (erythropoietin) หรือเพิ่งจะได้รับเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง เป็นระยะเวลา 2-3 เดือน
· ประวัติการใช้ยาต้านการแข็งเลือด (warfarin) หรือ ยาละลายลิ่มเลือด (Aspirin)
แปลผลอย่างไร
ค่าโดยทั่วไป มีดังนี้
· คัดกรองและวินิจฉัย
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าโดยทั่วไป (ผู้ใหญ่) การแปลผลขึ้นกับหน่วยวัด ดังต่อไปนี้ |
|
เปอร์เซ็นต์ (%)* |
หน่วย mmol/mol** (มิลลิโมลต่อโมล) |
||
|
HbA1c |
|
|
1 |
ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน |
< 5.7 % (ร้อยละ) |
< 39 mmol/mol (มิลลิโมลต่อโมล) |
2 |
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นโรคเบาหวาน |
5.7-6.4 % (ร้อยละ) |
39-46 mmol/mol (มิลลิโมลต่อโมล) |
3 |
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน |
> 6.5 % (ร้อยละ) |
> 48 mmol/mol (มิลลิโมลต่อโมล) |
* หน่วย เปอร์เซ็นต์ เป็นหน่วยแบบ Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** หน่วย mmol/mol เป็นหน่วยแบบ SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ HbA1c (อย่างเดียว) ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
- ติดตามการรักษา
- เป้าหมายของการรักษา ดังนี้
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้มีค่า HbA1c น้อยกว่า 7% (ร้อยละ)
- ผู้ภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน แนะนำให้มีค่า HbA1c ไม่น้อยกว่า 7% (ร้อยละ) โดยไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด (estimated average glucose - eAG) มีหน่วยเป็นmilligrams/deciliter, mg/dL (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ซึ่งคำนวณได้จากสูตร
eAG (mg/dL) = 28.7 X A1c (%) – 46.7
ข้อควรทราบ
- ค่า HbA1c ไม่ได้สะท้อนถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างเฉียบพลัน หรือการควบคุมระดับน้ำตาลในช่วง 3-4 สัปดาห์ก่อนพบแพทย์
- ผู้ที่มีภาวะที่ผิดปกติของฮีโมโกลบิน อาจมีปริมาณของฮีโมโกลบิน เอ (hemoglobin A) ลดลง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในต่อการตรวจค่า HbA1c เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและ/หรือติดตามโรคเบาหวาน
- ค่า HbA1c สามารถลดลงได้ด้วยการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายและการรับประทาน
เอกสารอ้างอิง
- Hemoglobin A1C. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 16, 2017. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/a1c/tab/test
- Hemoglobin A1c (HbA1c) Test for Diabetes. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: October 26, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/diabetes/guide/glycated-hemoglobin-test-hba1c
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560