issuu
Electrolytes
ชื่ออื่นๆ : Lytes, electrolyte panel
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
Electrolytes (อิเล็กโทรไลต์) คือ การตรวจเพื่อบอกถึงความสมดุลของเกลือแร่ในเลือด ในของเหลวของร่างกาย หรือบอกสภาวะความเป็นกรด-ด่างของเลือด โดยแบ่งตามชนิดของเกลือแร่เป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. โซเดียม (Sodium)
โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่ส่วนนอกของเซลล์ มีบทบาทในการควบคุมปริมาตรน้ำในร่างกาย
2. โพแทสเซียม (Potassium)
โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบที่ส่วนในของเซลล์ ทั้งนี้ระดับของโพแทสเซียมที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย จะมีผลต่ออัตราการเต้นและความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
3. คลอไรด์ (Chloride)
คลอไรด์เป็นแร่ธาตุที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ ซึ่งช่วยรักษาความเป็นกลางของแร่ธาตุต่างๆ
4. ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate)
บทบาทของไบคาร์บอเนต คือ ช่วยรักษาค่า pH ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงความสมดุลของกรด-ด่าง รวมทั้งช่วยรักษาความเป็นกลางของแร่ธาตุต่างๆ
ผลตรวจอิเล็กโทรไลต์ของร่างกาย อาจนำไปสู่การตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวอื่นๆ ได้แก่
1. แอนไอออน แกป (anion gap) เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณผลตรวจอิเล็กโทรไลต์ต่างๆในร่างกาย ซึ่งช่วยในการประเมินภาวะไม่สมดุลของอิเล็กทรอไลต์ เช่น การเกิดกรดจากเมตาบอลิสม เป็นต้น
2. Blood gases เป็นการตรวจหาปริมาณแก๊สในเลือด ใช้เมื่อพบภาวะความไม่สมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ซึ่งช่วยประเมินระดับความรุนแรงและการติดตามผลการรักษาต่อภาวะดังกล่าวได้
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจอิเล็กโทรไลต์ ใช้สำหรับ
- ช่วยในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ เช่น บวม, คลื่นไส้หรืออาเจียน, อ่อนแรง, สับสน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ตรวจภาวะความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ เช่น ภาวะขาดน้ำ, โรคตับ, โรคไต, โรคปอด หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
- ประเมินผู้ป่วยในสภาวะฉุกเฉิน
- ประเมินระยะเวลาในการเกิดโรคหรือภาวะต่างๆ (แบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง)
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้ เช่น
- ยาที่มีผลต่อระดับโซเดียม เช่น ยาสเตียรอยด์, ยาระบาย, ยาแก้ไอ, ยาคุมกำเนิด, ยาขับปัสสาวะ, carbamazepine, ยาต้านซึมเศร้า (tricyclic antidepressants), ยาลดกรด, Lithium, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น
- ยาที่มีผลต่อระดับโพแทสเซียม เช่น ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
- ยาที่มีผลต่อระดับคลอไรด์ ยาที่มีผลต่อระดับโซเดียมจะมีผลต่อระดับคลอไรด์ด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้ยาลดกรดมากกว่าขนาดที่แนะนำ
- ยาที่มีผลต่อระดับไบคาร์บอเนต เช่น ยาสเตียรอยด์, barbiturates,ยาขับปัสสาวะ, methicillin, nitrofurantoin, tetracycline เป็นต้น
· ประวัติการใช้ยาต้านการแข็งเลือด (warfarin) หรือ ยาละลายลิ่มเลือด (Aspirin)
แปลผลอย่างไร
- ค่าปกติในผู้ใหญ่โดยทั่วไป ดังตารางด้านล่าง
- โดยค่าอิเล็กโทรไลต์ในเด็กจะมีค่าแตกต่างกันแต่ละช่วงอายุ หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติในผู้ใหญ่ (การแปลผลขึ้นกับหน่วยที่วิเคราะห์ดังต่อไปนี้) |
|
หน่วย mEq/L* มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร |
หน่วย mmol/L** (มิลลิโมลต่อลิตร) |
||
1 |
โซเดียม (Sodium) |
136-145 mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร) |
136-145 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
2 |
โพแทสเซียม (Potassium) |
3.5-5.1 mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร) |
3.5-5.1 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
3 |
คลอไรด์ (Chloride) |
98-107 mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร) |
98-107 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
4 |
ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) |
23-29 mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร) |
23-29 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) |
5 |
แอนไอออน แกป (anion gap) |
ไม่มีค่ามาตรฐาน (ขึ้นกับห้องตรวจปฏิบัติการแต่ละแห่ง) |
|
6 |
Blood gases |
ไม่มีค่ามาตรฐาน (ขึ้นกับห้องตรวจปฏิบัติการแต่ละแห่ง) |
* หน่วย mEq/L เป็นหน่วยแบบ Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** หน่วย mmol/L เป็นหน่วยแบบ SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ Electrolytes ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
- ค่าที่ผิดปกติ (สูงหรือต่ำ) อาจเกิดได้จาก
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าต่ำกว่าปกติ |
ค่าสูงกว่าปกติ |
1 |
โซเดียม (Sodium) |
|
|
2 |
โพแทสเซียม (Potassium) |
· ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด· ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis
|
|
3 |
คลอไรด์ (Chloride) |
|
|
4 |
ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) |
|
|
5 |
แอนไอออน แกป (anion gap) |
|
|
6 |
Blood gases |
|
|
ข้อควรทราบ
- ควรตรวจค่าระดับโพแทสเซียมซ้ำ หากระยะเวลาในการส่งตัวอย่างเลือดสู่ห้องปฏิบัติการช้ากว่าที่กำหนด
- ผู้หญิงอาจมีค่าโพแทสเซียมต่ำกว่าผู้ชาย
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงก่อนการตรวจเลือด อาจส่งผลต่อการตรวจค่าไบคาร์บอเนตได้
เอกสารอ้างอิง
- Electrolyte. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: September 2, 2015. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/electrolytes
- Sodium. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 29, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/sodium/tab/test
- Why Do I Need a Blood Test for Sodium?. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: November 19, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/blood-test-for-sodium
- Potassium. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 29, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/potassium/tab/test
- Hyperkalemia: Symptoms and Treatments. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: September 29, 2015. [cited in 18 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/a-to-z-guides/hyperkalemia-causes-symptoms-treatments
- What Is Hypokalemia?. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: September 01, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/digestive-disorders/hypokalemia
- Chloride. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 26, 2016. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/chloride/tab/test/
- Carbon Dioxide (Bicarbonate). WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: August 21, 2015. [cited in 18 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/a-to-z-guides/bicarbonate
- Blood Gases. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: December 29, 2014. [cited in 18 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/blood-gases/tab/test
ผู้เรียบเรียง: ภญ.ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560