issuu
Complete blood count : Red blood cell, White blood cell, Platelet
ชื่ออื่นๆ : CBC, Hemogram, CBC with Differential
ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร
Complete blood count (CBC) คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งจะบอกถึงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดในร่างกาย โดยแบ่งตามชนิดของเซลล์เม็ดเลือดเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell : RBC) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย
- ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin : Hb) เป็นการวัดปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนตัวหนึ่งในเซลล์เลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยทั่วไปค่านี้จะสะท้อนถึงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดทั้งหมด
- ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit : Hct) เป็นการวัดร้อยละปริมาตรของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นในเลือดต่อปริมาตรเลือดทั้งหมด
- การตรวจนับจำนวนเลือดแดง (Red blood cell count : RBC count) เป็นการนับจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดทั้งหมด
- ดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red blood cell indies) เป็นค่าที่ใช้วิเคราะห์ร่วมกับผลของ CBC ตัวอื่นๆ ประกอบด้วย
- ปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงเฉลี่ย (Mean corpuscular volume : MCV) คือ ค่าที่บอกถึงขนาดเฉลี่ยของเซลล์เม็ดเลือดแดง 1 เซลล์
- ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin : MCH) คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง 1 เซลล์
- ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration : MCHC) คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง 1 เซลล์
- ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (Red cell distribution width : RDW) คำนวณได้จากความแตกต่างของขนาดเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ละตัว
- การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte count) เป็นค่าที่วัดได้จากการนับจำนวนเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนและแสดงผลเป็นร้อยละของเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน
- อัตราการตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate : ESR) เป็นการวัดการตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งบอกถึงการอักเสบของร่างกาย
2. เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell : WBC) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อโรค หรือเซลล์มะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทบาทต่อปฏิกิริยาการแพ้และการอักเสบ โดยการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาว ประกอบด้วย
- การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell count : WBC count) เป็นการนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดทั้งหมด
- การนับแยกชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell differentiation) เป็นค่าที่แสดงถึงจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดซึ่งมีหน้าที่ต่อระบบภูมิคุ้มกันแตกต่างกัน ประกอบด้วย neutrophils, lymphocytes, monocytes, eosinophils และ basophils
3. เกล็ดเลือด (Platelet) เป็นเซลล์ที่มีบทบาทในการแข็งตัวของเลือด เวลาเกิดบาดแผลและมีเลือดออก โดยการตรวจเกล็ดเลือด ประกอบด้วย
- การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด (Platelet count หรือ Thrombocyte count) เป็นการนับจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดทั้งหมด
- ปริมาตรของเกล็ดเลือดเฉลี่ย (Mean platelet volume : MPV) คำนวณได้จากปริมาตรเฉลี่ยของเกล็ดเลือด
- ความกว้างของการกระจายขนาดเกล็ดเลือด (Platelet distribution width : PDW) เป็นค่าที่บอกถึงความแตกต่างของขนาดเกล็ดเลือดแต่ละตัว
ทำไมต้องตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการนี้
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ใช้สำหรับ
- ตรวจความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกาย
- ค้นหาสาเหตุของอาการต่างๆ เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย มีไข้ มีจ้ำเลือดหรือน้ำหนักลด เป็นต้น
- ช่วยในการวินิจฉัยโรคหรือภาวะต่างๆ เช่น ภาวะซีด (anemia) ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (polycythemia) ภาวะเลือดออก (bleeding) การติดเชื้อ (infection) โรคเลือด/โรคทางระบบโลหิตวิทยา กระบวนการอักเสบ (inflammation) หรือการแพ้ (allergy) เป็นต้น
- ติดตามประสิทธิผลของการรักษาด้วยยา เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น หรือได้รับการฉายแสง
- คัดกรองผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการ
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยาเคมีบำบัด สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่ เพื่อใช้ในการประเมินสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
· กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา เช่น ยาสเตียรอยด์, ยาปฏิชีวนะบางชนิด, ยากลุ่ม thiazide, ยาเคมีบำบัด, quinidine เป็นต้น สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้
· ประวัติการใช้ยาต้านการแข็งเลือด (warfarin) หรือ ยาละลายลิ่มเลือด (Aspirin)
· มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ม้ามโต หรือเป็นโรคเลือด หรือได้รับการฉายแสง
· ตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์
แปลผลอย่างไร
- ค่าปกติในเด็กโดยทั่วไป มีดังนี้
- โดยค่าปกติในเด็กจะมีค่าแตกต่างกันแต่ละช่วงอายุ หากมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าปกติ (ผู้ใหญ่) |
|
Conventional Units* |
SI Units** |
||
|
เซลล์เม็ดเลือดแดง |
|
|
1 |
ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin : Hb) |
|
|
|
ชาย |
14-17.5 g/dL (กรัมต่อเดซิลิตร) |
140-175 g/L (กรัมต่อลิตร) |
|
หญิง |
12.3-15.3 g/dL (กรัมต่อเดซิลิตร) |
123-153 g/L (กรัมต่อลิตร) |
2 |
ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit : Hct) |
|
|
|
ชาย |
41.5-50.4% (ร้อยละ) |
0.415-0.504 (สัดส่วน) |
|
หญิง |
36.9-44.6% (ร้อยละ) |
0.369-0.446 (สัดส่วน) |
3 |
การตรวจนับจำนวนเลือดแดง (Red blood cell count : RBC count) |
|
|
|
ชาย |
4.5-5.9 x 106 per microliter (mcL) (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
4.5-5.9 x 1012 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
|
หญิง |
4.5-5.1 x 106 per microliter (mcL) (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
4.5-5.9 x 1012 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
4 |
ดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red blood cell indies) |
|
|
|
ปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงเฉลี่ย (Mean corpuscular volume : MCV) |
80-96 micrometer3 (ลูกบาศก์ไมโครเมตร) |
80-96 fL (เฟมโตลิตร) |
|
ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin : MCH) |
27.5-33.2 picogram (pg) (พิโคกรัม) |
27.5-33.2 picogram (pg) (พิโคกรัม) |
|
ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration : MCHC) |
33.4-35.5 g/dL (กรัมต่อเดซิลิตร) |
334-355 g/L (กรัมต่อลิตร) |
5 |
ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (Red cell distribution width : RDW) |
ไม่มีข้อมูล |
ไม่มีข้อมูล |
6 |
การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte count) |
1. 0.5-1.5% (ร้อยละ) |
1. 0.005-0.015 number fraction (สัดส่วน) |
|
2. 25-75 x 103 per microliter (mcL) (ลูกบาศก์เมตรต่อไมโครลิตร) |
2. 25-75 x 109 per liter (L) (ต่อลิตร) |
|
7 |
อัตราการตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate : ESR) |
|
|
|
ชาย |
อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี : 0-15 millimeters per hour (mm/hr) (มิลลิลิตรต่อชั่วโมง)
อายุมากกว่า 50 ปี : 0-20 millimeters per hour (mm/hr) (มิลลิลิตรต่อชั่วโมง) |
|
|
หญิง |
อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี : 0-20 millimeters per hour (mm/hr) (มิลลิลิตรต่อชั่วโมง)
อายุมากกว่า 50 ปี : 0-30 millimeters per hour (mm/hr) (มิลลิลิตรต่อชั่วโมง) |
|
|
เซลล์เม็ดเลือดขาว |
|
|
1 |
การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell count : WBC count) |
4,500-11,000 per microliter (mcL) (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
4.5-11.0 x 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
2 |
การนับแยกชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell differentiation) |
|
|
|
1. 50%-62% (ร้อยละ) |
1. 0.50-0.62 (สัดส่วน) |
|
2. Absolute count (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
2. Absolute count 1.8-7.8X 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
||
|
Lymphocytes |
1. 25%-40% (ร้อยละ) |
1. 0.25-0.40 (สัดส่วน) |
|
|
2. Absolute count (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
2. Absolute count 1.0-4.8X 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
|
Monocytes |
1. 3%-7% (ร้อยละ) |
1. 0.30-0.70 (สัดส่วน) |
2. Absolute count (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
2. Absolute count 0-0.8X 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
||
|
Eosinophils |
1. 0%-3% (ร้อยละ) |
1. 0-0.30 (สัดส่วน) |
2. Absolute count (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
2. Absolute count 0-0.45X 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
||
|
Basophils |
1. 0%-1% (ร้อยละ)
|
1. 0-0.10 (สัดส่วน) |
|
|
2. Absolute count (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
2. Absolute count 0-0.2X 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
|
เกล็ดเลือด |
|
|
1 |
การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด (Platelet count หรือ Thrombocyte count) |
150-450 x 103 per microliter (mcL) (เซลล์ต่อไมโครลิตร) |
150-450 x 109 per liter (L) (เซลล์ต่อลิตร) |
2 |
ปริมาตรของเกล็ดเลือดเฉลี่ย (Mean platelet volume : MPV) |
ไม่มีข้อมูล |
ไม่มีข้อมูล |
3 |
ความกว้างของการกระจายขนาดเกล็ดเลือด (Platelet distribution width : PDW) |
ไม่มีข้อมูล |
ไม่มีข้อมูล |
* Conventional Units เป็นหน่วยที่ใช้รายงานผลทางห้องปฏิบัติการของประเทศสหรัฐอเมริกา
** SI (International System of Units) เป็นระบบการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการระหว่างประเทศ
หมายเหตุ
1. หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
2. หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
3. การตรวจ CBC ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
- ค่าที่ผิดปกติ (สูงหรือต่ำ) อาจเกิดได้จาก
ลำดับ |
ค่าทางห้องปฏิบัติการ |
ค่าต่ำกว่าปกติ |
ค่าสูงกว่าปกติ |
|
เซลล์เม็ดเลือดแดง |
|
|
1 |
ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin : Hb) |
|
|
2 |
ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit : Hct) |
||
3 |
การตรวจนับจำนวนเลือดแดง (Red blood cell count : RBC count)
|
||
4 |
ดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red blood cell indies) |
|
|
|
ปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงเฉลี่ย (Mean corpuscular volume : MCV) |
|
|
|
ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin : MCH) |
||
|
ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration : MCHC) |
|
|
5 |
ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (Red cell distribution width : RDW) |
ไม่มีข้อมูล |
|
6 |
การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte count) |
|
|
7 |
อัตราการตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate : ESR) |
|
|
|
เซลล์เม็ดเลือดขาว |
||
1 |
การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell count : WBC count) |
|
|
2 |
การนับแยกชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell differentiation) |
||
|
|
|
|
|
Lymphocytes |
|
|
|
Monocytes |
|
|
|
Eosinophils |
ไม่มีนัยสำคัญต่อการแปลผล
|
|
|
Basophils |
ไม่มีนัยสำคัญต่อการแปลผล
|
|
|
เกล็ดเลือด |
||
1 |
การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด (Platelet count หรือ Thrombocyte count) |
quinidine, ยากลุ่มซัลฟา เป็นต้น
|
|
2 |
ปริมาตรของเกล็ดเลือดเฉลี่ย (Mean platelet volume : MPV) |
|
|
3 |
ความกว้างของการกระจายขนาดเกล็ดเลือด (Platelet distribution width : PDW) |
ไม่มีข้อมูล |
ไม่มีข้อมูล |
ข้อควรทราบ
- ภาวะโรคที่แตกต่างกัน อาจมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายได้
- การได้รับเลือดในระยะเวลาไม่นาน มีผลต่อ CBC
- เด็กทารกหรือเด็ก จะมี CBC แตกต่างกับผู้ใหญ่
- หากท่านตั้งครรภ์อยู่ กรุณาแจ้งแพทย์ทุกครั้ง เนื่องจากทำให้การแปลผลผิดพลาดได้
- จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการออกกำลังกาย ภาวะเครียด หรือสุบบุหรี่
- ผลการตรวจปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct) อาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับวิธีและเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจ
เอกสารอ้างอิง
- Complete Blood Count. Lab Tests Online. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: September 8, 2016. [cited in 15 January 2017]. Available from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/cbc/tab/test
- Complete Blood Count. WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: August 21, 2015. [cited in 15 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/a-to-z-guides/complete-blood-count-cbc#1
- Sedimentation Rate (Sed Rate). WebMD. Medical Reference from Healthwise. Last Updated: August 21, 2015. [cited in 15 January 2017]. Available from http://www.webmd.com/a-to-z-guides/sedimentation-rate#2
ผู้เรียบเรียง: ภญ. ปานรดา นวลโสภาภณ
วันที่เรียบเรียง 24 มกราคม 2560