issuu
โรคลมชักสามารถหายได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอย่างถูกต้อง
การรักษาโรคลมชัก มี 2 วิธี คือ
-
การรับประทานยากันชัก เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
-
การผ่าตัดสมอง ใช้ในรายที่ไม่สามารถควบคุมการชักด้วยยา หรือมีเนื้องอกในสมอง
เมื่อใดที่ต้องทานยากันชัก
-
การชักเพียง 1 ครั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับยากันชัก ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีสาเหตุในสมอง เช่น เนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมอง ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ต้องขับรถเป็นเวลานาน อาชีพที่อาจมีอันตรายถ้าชักขณะทำงาน เช่น ทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูงหรือขับรถ
-
การชัก 2 ครั้ง หรือมากกว่า ผู้ป่วยมีโอกาสชักซ้ำประมาณร้อยละ 80-90 ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องได้รับยากันชัก ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีอาการชักเฉพาะส่วนที่มีสาเหตุจากน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อลดระดับน้ำตาลอาการชักก็จะหายไปและผู้ป่วยที่มีอาการชักแต่ละครั้งห่าง กันมาก ๆ เช่น 1-2 ปีต่อครั้ง และการชักนั้นไม่มีอันตราย หรือชักเฉพาะตอนนอนหลับ
-
ควรทานยากันชักชนิดใด การพิจารณาชนิดของยากันชัก ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการชัก สาเหตุและข้อห้ามของการใช้ยาชนิดนั้น ดังนั้นจึงควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับแพทย์มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเลือกชนิดของยากันชัก ซึ่งจะเริ่มจากการใช้ยาชนิดเดียวก่อน และขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่ควบคุมการชักได้
-
ต้องใช้ยากันชักนานเท่าใด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องได้ยากันชักนานประมาณ 2 ปี หรือมากกว่า หลังจากควบคุมอาการชักได้เพื่อลดโอกาสในการชักซ้ำ โดยแพทย์จะพิจารณาปัจัยต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น สาเหตุของการชัก ความผิดปกติของระบบประสาท อายุที่เริ่มเป็น ชนิดของการชัก ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง ระยะเวลาที่เป็น และความถี่ของการชักก่อนการรักษา เมื่อจะหยุดยากันชักจะต้องค่อย ๆ หยุดยาโดยใช้เวลาลดยาวนานประมาณ 6-12 เดือน