issuu
โรคเมลิออยโดสิส นับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูง โดย เฉพาะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งมีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ 60 และมักพบอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ทั้งนี้มักมีการกลับซ้ำของโรคเมลิออยโดสิสในกรณีให้การรักษาระยะสั้น และผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง
เมลิออยโดสิสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบ Burkholderia pseudomallei (B. pseudomallei) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและปอดอักเสบ ในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แม้ว่าได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้อย่างกว้างขวางมานานกว่า 20 ปี แต่ผลการรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง อัตราการเสียชีวิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 50-60 ส่วนในประเทศออสเตรเลีย พบว่าอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 15-20
หลักการรักษา
-
การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส
-
การรักษาตามอาการ
-
การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
-
พิจารณาเจาะดูดหรือผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง รวมทั้งการตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและกลายเป็นเนื้อตายออกไป