issuu
ยานี้ใช้สำหรับ (ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา)
-
ใช้รักษาโรคติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป
-
ใช้ป้องกันโรคติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
ในขณะนี้ oseltamivir เป็นยาที่แพทย์ใช้สำหรับไข้หวัดใหญ่ (H3N2) ไข้หวัดนก (H5N1) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1)
รูปแบบยา
ยาผงแห้งสำหรับสูดทางปาก (powder for inhalation)
ชื่อการค้า
Relenza
วิธีใช้ยาและขนาดในการรักษา (ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา)
-
การใช้ยาเพื่อการรักษาให้ในเด็กและผู้ใหญ่อายุ 7 ปีขึ้นไป
-
การใช้ยาเพื่อป้องกันสามารถให้ในเด็กและผู้ใหญ่อายุ 5 ปีขึ้นไป
-
ขนาดเพื่อการรักษาคือ 10 mg (สูดเข้าทางปาก 2 ครั้ง) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยเริ่มให้ยาภายใน 2 วัน หลังจากอาการปรากฏ
-
ควรใช้ยาให้เป็นเวลาเดิมของทุกวัน
-
การใช้ยาในสตรีมีครรภ์
คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจัดให้ zanamivir อยู่ใน pregnancy category C ซึ่งบ่งชี้ว่ายังไม่มีการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์ ดังนั้นการใช้ยานี้จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์รวมถึงเด็กที่เกิดมา
ในกรณีของการป้องกันอาจนำ zanamivir มาใช้ เนื่องจากมีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยกว่า oseltamivir อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาว่า zanamivir อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจอันเนื่องจากยาต้องใช้ผ่านการสูดพ่น โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ที่มีปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
-
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการหลอดลมตีบหรือมีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงไม่แนะนำ Zanamivir สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด หรือ โรคอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD)
-
ผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดควรใช้ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็วชนิดสูดพ่นระหว่างที่ได้รับยา zanamivir โดยใช้ยาขยายหลอดลมก่อนใช้ยา zanamivir
-
คนที่เป็นไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการชัก เกร็ง หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มของอาการป่วย อาการผิดปกติเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอ
-
zanamivir ไม่ได้ลดโอกาสในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บ้าน
-
หากเกิดการแพ้ยาได้แก่ ปาก คอหอย หรือหน้าบวม ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที
การเก็บรักษายา
-
เก็บให้พ้นมือเด็ก
-
เก็บยาในอุณหภูมิห้อง
-
เก็บยาให้พ้นจากบริเวณที่ร้อนจัดหรือมีความเปียกชื้น