การป้องกันโรคบาดทะยัก แม้โรคบาดทะยัก (tetanus) จะมีวัคซีนป้องกัน แต่ปัจจุบันประเทศไทยก็ยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโดนตะปูที่เป็นสนิมตำมีความเสี่ยงจะเป็นโรคบาดทะยัก ความ จริงแล้วตัวการสำคัญมิใช่สนิม เพียงแต่ว่าตะปูที่เป็นสนิมมักจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเศษดิน หรืออยู่ในคอกสัตว์ ซึ่งมีเชื้อบาดทะยักอยู่ ตะปูที่ไม่มีสนิม แต่ถ้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น ถ้าโดนตำเข้า ก็มีโอกาสเป็นโรคบาดทะยักได้เช่นกัน
ลักษณะของโรคบาดทะยัก
-
โรคบาดทะยักเกิดจากสารพิษของเชื้อบาดทะยักที่มีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท
-
ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้น 1-7 วัน การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะกระจายทั่วร่างกาย ทําให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อกราม ผู้ป่วยอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลําบาก คอ หลังเกร็ง และปวด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อทั่วร่างกายก็จะเกร็งทั้งหมดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ ช่วยหายใจ ทําให้หายใจลําบาก และอาจเสียชีวิตได้จากภาวะหายใจวาย
-
บาด แผลที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก ได้แก่ บาดแผลที่มีเนื้อตายจํานวนมาก มีการติดเชื้อเป็นหนอง มีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง แผลไฟไหม้ การติดเชื้อของสายสะดือ กระดูกหักชนิดแทงทะลุผิวหนัง การติดเชื้อจากทําแท้ง
-
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Clostridium tetani เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษ ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาท ส่งผลให้การทํางานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เชื้อบาดทะยักมักจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล บางครั้งแผลอาจจะเล็กมากจนไม่เป็นที่สังเกต แผลที่ลึก หรือแผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดติดเชื้อได้ง่าย
... Click อ่านรายละเอียดทั้งหมด ...